ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Sanke
เมื่อ 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 00:13
เรามาทำความรู้จักกับปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Sanke (ซังเก้,ซันเก้,ซังเขะ แล้วแต่จะถนัดเรียกเลยครับ) ไปด้วยกันนะครับ
ในระหว่างช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 (ปี 1900-1909) ได้มีปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น โดยมีลวดลายเป็นแต้ม สีดำ{sumi(ซูมิ)} เพิ่มขึ้นมาจากลวดลายธรรมดาของปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โคฮากุ ที่มีเพียงสีขาวและแดงเท่านั้น
ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ใหม่นี้มีชื่อว่า Taisho Sanshoku (ไทโช ซันโชกุ) หรือ Taisho Sanke (ไทโช ซังเก้) แต่มักจะถูกเรียกง่ายๆว่า ซังเก้ หรือ ซันโชกุ ได้เช่นกัน
ตำแหน่งของแต้มสีดำ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเน้นย้ำความสำคัญ ของลวดลายทั้งหมดบนตัวปลาสายพันธุ์นี้
ไม่ว่าลวดลายสีดำจะเป็นอย่างไร เป็นกลุ่มก้อนมีความชัดเจนหนักแน่น หรือกระจายอย่างสวยงาม ดำที่ลึกเป็นมันเงา มักจะเป็นที่ชื่นชอบต้องการมากที่สุด
ปลาไทโชซันโชกุ หรือที่เราเรียกง่ายๆว่าซังเก้ ซังเขะ หรือซันเก้ พัฒนามาจากปลาโคฮากุ เมื่อประมาณ 96 ปีที่ผ่านมา ใน ค.ศ.1918 ในขณะที่เพาะพันธุ์สายพันธุ์โฮกุ มีปลาที่เกิดขึ้นใหม่ โดยมีดำที่เลอะเทอะกระจัดกระจายไปทั่วทั้งตัว
ผู้เพาะพันธุ์ต่างพยายามทำให้ดำที่กระจัดกระจาย รวมกันเป็นก้อน การพัฒนาของสายพันธุ์ซังเก้จึงเริ่มขึ้น เพื่อให้ดำรวมตัวกัน จากจุดเล็กๆ เป็นแผ่นใหญ่ และทำให้บาลานซ์กับแพทเทิร์นสีแดง
ปลาตัวในภาพ เป็นปลาที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่ง ชื่อ Crown Sanke แพทเทิร์นที่บาลานซ์ระหว่างดำและแดง โดยเฉพาะดำที่หลัง ลำตัวและส่วนหาง เป็นผลมาจากการพัฒนาดังกล่าวนั่นเอง
แบบอย่างของรูปร่างที่สมส่วน
ในการพิจารณาความสวยงามของปลาแฟนซีคาร์พ มีส่วนสำคัญสามส่วนที่นำมาพิจารณา คือ ความสมส่วนของรูปร่าง คุณภาพ และ ลวดลาย
ความสมส่วน พิจารณาถึง รูปร่างลักษณะของปลา
คุณภาพ ต้องอ้างถึงหลายอย่าง เช่น สี เกล็ด ผิว สายพันธุ์ เป็นต้น
เรื่องแพทเทิร์น พิจารณาที่การจัดระเบียบได้อย่างลงตัวของสีต่างๆที่ปลามี
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสมส่วนของรูปร่าง ถัดมา คือคุณภาพและแพทเทิร์นตามลำดับ เพราะถ้าหากปลามีรูปร่างที่ไม่ดีมันจะไม่สามารถชนะในการประกวดได้ แม้มันจะมีคุณภาพด้านอื่นๆที่ดีก็ตาม
เรื่องแพทเทิร์นก็เช่นกัน แม้จะสวยเพียงใดก็ไม่สามารถชนะได้ หากมีรูปร่างไม่สมส่วนสวยงาม
โคฮากุในภาพ รวมทั้ง Crown Sanke เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ ที่แสดงให้เห็นว่า รูปร่างที่สมส่วนสวยงามเป็นอย่างไร
โอโดเหมะ ในอุดมคติ
หากมีจุดดำเยอะในบริเวณข้อหาง จะทำให้ลดความสวยงามลงไป การมีสีดำเป็นสีสุดท้ายในส่วนหาง ทำให้ดูไม่ค่อยสะอาดและลดทอนสเน่ห์ลงไปเช่นกัน
จากภาพ เป็นตัวอย่างของโอโดเหมะในอุดมคติ จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า ในสายพันธุ์ ซังเก้นี้ โอโดเหมะจะดูสวยงามเมื่อสีสุดท้ายของช่วงหาง เป็นสีแดงและเปิดข้อหางด้วยขาวล้วนๆ
Doh Zumi (โดห์ซูมิ) แปลว่า ซูมิหรือดำที่ตัวปลา
การที่ปลามีซูมิที่ลำตัวลักษณะแบบนี้ คือ มีดำเป็นแผ่นใหญ่ สีลึก หนาและเงางามโดยไม่มี Mado (มะโดห์) หรือ เรียกง่ายๆว่าวินโดว์ (ช่องว่างในสี)จะเป็นส่วนที่ได้รับคะแนนสูงในการพิจารณาสำหรับการประกวด
การทำให้เกิดความบาลานซ์ กับส่วนสีดำในส่วนอื่นๆถือว่า ค่อนข้างสมบูรณ์แบบสำหรับปลาตัวนี้
Kokesuki (โคเคสซูกี)
ส่วนที่เป็นสีบางๆในสีแดง ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บ เกล็ดหลุด หรือความไม่มีคุณภาพของสีแดง ทั้งหมดเรียกว่า Kokesuki เป็นสิ่งที่ถือเป็นตำหนิ ไม่เป็นที่ปรารถนา เพราะแสดงถึงการดูแลปลาที่ไม่ดี
Mado ส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมสีขาว ข้างๆส่วนเบลอในภาพ ก็ถือว่าเป็นตำหนิเช่นกัน
Kokesuki มักจะไม่ดีขึ้นถ้าปลายังไม่โตเต็มวัย โดยทั่วไป ส่วนที่เป็นสีเบลอจะปรากฏเฉพาะในปลาอายุน้อย สามารถแก้ไขได้โดยให้อาหารที่มีการเร่งสีที่เพียงพอ และดูแลปลาให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
Kata Zumi หรือซูมิ(ดำ)ที่ไหล่
ส่วนสีดำที่ไหล่ เป็นส่วนสำคัญที่มีความจำเป็นที่สุดสำหรับปลาซังเก้
ซูมิที่ไหล่ในภาพนี้ ทำให้แพทเทิร์นทั้งตัวปลาดูบาลานซ์
คุณภาพของดำ ฝั่งหนึ่งมีขอบสีที่ดี แต่อีกฝั่งดูซิกแซกเบลอๆหยักๆ แต่ถือเป็นเพียงแค่ตำหนิเล็กๆ
เมื่อปี 1980 ปลาซังเก้ตัวนี้(Crown Sanke) ถือเป็นตัวอย่างของปลาซังเก้ที่มีคุณภาพสูงสุดที่มีในขณะนั้นกันเลยทีเดียว แปลว่า แม้ดำจะเบลอนิด แดงไหล่จะเบลอหน่อย ก็ยังถือว่ามีคุณภาพดีโดยรวมครับ
ซูมิ(ดำ)ของปลาซังเก้
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปลา Crown Sanke (ปลาตัวแรก) กับปลาในภาพนี้
ปลาตัวแรกมีดำที่มีลักษณะค่อนข้างกระจัดกระจาย ดูไม่ลึกเหมือนว่าสีดำจะบาง
ส่วนปลาในภาพนี้ มีสีดำที่เป็นแผ่นใหญ่กว่า มีสีที่ลึกเกิดจากใต้ชั้นผิว เรียกว่า คุณภาพสูงทีเดียว
เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพดำ ปลาตัวนี้จะได้คะแนน 100 เต็ม ในขณะที่ปลาตัวแรก ได้เพียง 30 คะแนน
ปลาCrown Sanke ชนะเลิศงานออลเจแปนในปี 1979 และปลาในภาพนี้ชนะเลิศในปี 2000 จะเห็นได้ว่า เวลาที่ผ่านไปยี่สิบปี ผู้เพาะพันธุ์สามารถพัฒนาคุณภาพของดำได้ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
เมื่อมาพิจารณาที่ภาพปลาตัวนี้ การมีสีดำในครีบอกด้านซ้ายของตัวปลา แสดงให้เห็นถึงการบาลานซ์อย่างลงตัวและช่วยให้มันดูสวยงามมากขึ้น แม้ว่าจะไม่มี Kata Zumi ก็ตาม
Kata Zumi หรือดำที่ไหล่ ของปลาซังเก้
แพทเทิร์นของปลาซังเก้รวมไปด้วยสีทั้งหมดสามสี ขาว แดง และดำ
ในสายพันธุ์นี้ ตำแหน่งและขนาดของดำเป็นส่วนสำคัญเฉพาะ เลยทีเดียว
เมื่อเราพิจารณาปลาตัวในภาพนี้ กับปลาตัวแรก (Crown Sanke) ปลาทั้งสองตัวมีดำที่ไหล่เป็นแผ่นใหญ่ การวางของสีดำที่ตำแหน่งเหมาะสมทำให้ปลาอยู่ในระดับคุณภาพที่สูงขึ้น
ปลาตัวแรก ด้อยในเรื่องความคมชัดของดำ เพราะความกระจัดกระจาย แต่การมีอยู่ของดำบริเวณไหล่ ทำให้มันสามารถชนะงานประกวดเป็นแกรนด์แชมเปี้ยนได้
ปลาในภาพก่อนหน้านี้ ไม่มีดำบริเวณไหล่ เราทราบกันดีว่า ถ้าปลาซังเก้ไม่มีดำที่ไหล่ จะไม่เป็นไปตามกฎในอุดมคติ ในกรณีของปลาตัวก่อนหน้านี้ ดำที่ครีบอกด้านซ้าย ทำหน้าที่เหมือนดำที่ไหล่ ถ้ามันไม่มีดำที่ครีบนี้ มันจะไม่สามารถชนะเลิศงานประกวดได้ แม้มันจะมีคุณภาพเรื่องอื่นๆที่งดงามเพียงใดก็ตาม
ปลาตัวนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของดำที่ไหล่เช่นกัน
การมีอยู่ของดำที่ไหล่เป็นกุญแจสำคัญในการพิจารณาความสวยงามของปลาซังเก้ในเรื่องของ คุณภาพ ที่สำคัญแม้จะรองๆเรื่องความสมส่วนของรูปร่างครับ
ส่วนที่เป็นสีขาวของปลาซังเก้
Crown Sanke แกรนด์แชมเปี้ยนจากงานออลเจแปนครั้งที่ 10 มีชื่อเสียงเรื่องความสวยงามไปทั่วทั้งญี่ปุ่น ความสวยงาม โดยเฉพาะพื้นสีขาวของมันถือว่าดีเลิศ และสวยมากพอที่จะทำให้เราประทับใจมาถึงทุกวันนี้ ต้องแสดงความขอบคุณในการพัฒนาการเพาะพันธุ์ให้ดีขึ้นของผู้เพาะพันธุ์
ตอนนี้เรามีตัวอย่างของคุณภาพขาวที่ดีดังที่เราเห็นจากปลาในรูปนี้ ส่วนที่เป็นสีขาวไม่เพียงแต่แค่มีสีขาว ยังมีฟุคุรินที่กำลังหนาขึ้นอีกด้วย
ปลาแฟนซีคาร์พบางเชื้อสายเท่านั้นที่มีฟุคุริน บางสายพันธุ์ไม่มี ฟุคุรินไม่จำเป็นต้องปรากฏ
เป็นเรื่องจริงที่ฟุคุริน ทำให้ปลาดูน่าดึงดูดน่าสนใจมากขึ้น จากการที่มีพื้นสีขาวธรรมดา
ในการยกตัวอย่างจะพูดถึง สายพันธุ์ โอกอน การมีอยู่หรือการปรากฏของฟุคุรินเป็นเรื่องสำคัญ และแสดงให้เห็นคุณค่าของตัวปลา
ปลาที่มีแพทเทิร์น เช่น โคฮากุ ซังเก้ ฟุคุรินไม่ใช่ส่วนสำคัญ เหมือนที่จำเป็นต้องมีในปลาโอกอน แต่ปลาที่มีฟุคุรินจะถูกพิจารณาให้สวยงามกว่าปลาที่ไม่มีเสมอ
เรื่องราวเกี่ยวกับปลาแฟนซีคาร์พยังมีอีกมากมาย อย่าลืมมาศึกษาไปพร้อมๆกันนะครับ
รับรู้ข้อมูล ข่าวสาร โปรโมชั่นต่างๆ บทความใหม่ๆได้ก่อนใคร เพียงท่านกดไลค์แฟนเพจ koi108.com ที่
www.facebook.com/koi108
หรือ ทางไลน์กรุ๊ป ผ่านทาง QR code ในภาพนะครับ