ภาพปลาบางส่วนที่เราเคยคัดสรรเพื่อสมาชิก

ภาพปลาบางส่วนที่เราเคยคัดสรรเพื่อสมาชิก

เมื่อ 26 กรกฎาคม 2557 เวลา 00:14
ภาพเหล่านี้เป็นภาพปลาบางส่วน ที่เพื่อนๆพี่ๆน้องๆได้ให้ความสนใจซื้อจากทางเรา รวมทั้งปลาที่ผมเลือกไว้สำหรับเลี้ยงเองและส่งประกวด ตั้งแต่อดีตที่ดูปลาแทบจะไม่เป็น จนถึงปัจจุบันที่ไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่ ซึ่งเราจะเรียนรู้ไปพร้อมๆกับท่านครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อนๆพี่ๆน้องๆสมาชิกจะยังคง ให้การสนับสนุนเราเหมือนเดิมนะครับ ขอบคุณครับ
รางวัลแรกในชีวิตการส่งประกวดครับ
ปลาที่รักที่สุดตัวหนึ่ง
รางวัลแรกจาก ZNA
ลองส่งดู เค้าว่าคู่แข่งน้อย อิอิ
สวย ใส ไร้วิญญาณ
ตัวนี้คิดว่าเป็นคุจากุที่สวยสุดที่เคยเลี้ยงมาแล้วครับ แต่ไม่รู้จริงหรือเปล่า เราจะศึกษาไปด้วยกันครับ
ตันโจโชว่าที่ไม่พร้อม ประกวดมักจะสู้ตันโจโคฮากุไม่ได้ จริงหรือเปล่า เราจะเรียนรู้ไปด้วยกันครับ
ซูซุย เค้าวัดกันที่ลายกระดูกที่สันหลัง จริงหรือเปล่าครับ
ตัวนี้เป็นปลาน่ารักในสายตาของผม หน้าตามันน่ารักดีครับ
โชว่าที่ดำไม่พร้อม เหมาะจะเป็นปลาที่เลี้ยงยาวๆดูอนาคต มากกว่าจะเป็นปลาประกวด จริงหรือเปล่าครับ
ตันโจที่เค้าประกวดกัน แดงที่หัวต้องกลมดิก ปานเหรียญบาท วาดด้วยวงเวียน จริงหรือเปล่าครับ
Utsurimono โดยเฉพาะ Shiro Utsuri ในการประกวด ผิวต้องขาว หัวต้องไม่เหลือง ดำต้องฟินิช จริงหรือไม่ เราจะศึกษาไปด้วยกันครับ
อาซากิ สำหรับประกวด หัวต้องขาวสะอาด ตาข่ายต้องเรียงเข้มชัด แดงต้องไม่เลอะขึ้นมาบนเกล็ด จริงหรือเปล่าครับ
โอกอน หุ่นต้องเป๊ะ เกล็ดต้องเรียงสวย ครีบไม่แหว่ง ใช่หรือเปล่าครับ ค่อยๆศึกษาไปด้วยกันนะครับ
Goshiki เค้าตัดสินกันยังไงครับ
แดงของตันโจ ต้องมีตำแหน่งตรงกลางเป๊ะ ไม่เลยลงมาที่ขอบตา จริงไหมครับ
ปลาที่ชนะการประกวดแต่เล็ก มักจะเลี้ยงไม่โตและรักษาความงามไว้เหมือนเดิมยาก จริงหรือเปล่า เราจะค่อยๆศึกษาเรียนรู้ไปด้วยกันที่ www.koi108.com นะครับ
มีตัวไหนสวยถูกใจบ้างไหมครับ
ตาข่ายเข้มหรืออ่อนดีครับ
ดำเข้มหรือดำฝังดีกว่ากันครับ
ท่านเลือกปลาที่หุ่น หรือแพทเทิร์น หรือเลือกทั้งสองอย่างครับ
หรือจะเลือกปลาที่ผิว และคุณภาพสี มากกว่าครับ
คุจากุเค้าเลือกกันอย่างไร ต้องพิจารณาอะไรกันบ้าง เพราะมีทั้งแพทเทิร์น ทั้งสี ทั้งตาข่าย ทั้งความเงา ทั้งรูปร่างที่ต่างกันครับ
คุมงริว เลี้ยงแล้วต้องทำใจ เพราะลวดลายอาจเปลี่ยนและหายไป ไม่เหมือนเดิม ท่านคิดว่าสนุกดี ท้าทาย หรือเปลืองที่เปลืองอาหารครับ
โอกอนหน้าตาเหมือนๆกัน เลือกตัวไหนดีครับ
ชอบโทนสีไหนกันครับ สำหรับปลาสีเดียว
ซังเก้ มีดำเป็นองค์ประกอบ ชอบแบบไหนกันครับ ดำเยอะ ดำน้อย ดำใหญ่ ดำเล็ก
โชว่าเลือกดำฝัง หรือดำเข้ม ดีครับ
ชอบ Classic หรือ Kindai ครับ
ซูซุย ดูแต่ลายกระดูก หรือดูสีแดง หรือหลังต้องเป็นสีฟ้าด้วยครับ
ตันโจ แยกเป็นอีกหลายสายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์ต้องเลือกอย่างไร และท่านชอบสายพันธุ์ไหนกันบ้างครับ
Utsurimono สายพันธุ์ไหนที่ท่านชอบครับ Shiro Utsuri,Hi Utsuriหรือ Ki Utsuri ครับ
เราพยายามคัดสรรปลาหลากหลายสายพันธุ์ ที่มีคุณภาพดีและมีราคาที่เหมาะสม มาเสนอแก่สมาชิก รวมทั้งแชร์ประสบการณ์ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาทุกด้าน โดยเฉพาะการเลือกปลาในแต่ละสายพันธุ์ เพื่อให้สมาชิกได้ทราบ ได้เลือกเป็นเจ้าของปลาคุณภาพดีด้วยตัวของท่านเองครับ
ปลาทุกตัว ก่อนที่จะถูกส่งต่อสู่มือสมาชิก เราจะทำการกักโรคก่อนทุกครั้ง โดยมีวิธีการ ดังนี้
1. น็อคด้วยด่างทับทิมเข้มข้น เพื่อกำจัดปรสิตภายนอก หรือเชื้อโรคภายนอก ที่ด่างทับทิมสามารถกำจัดได้
2. แช่เกลือประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อตัน เพื่อลดความเครียดของปลา และช่วยให้ปลาขับเมือก หลังจากสูญเสียเมือกจากการน็อคด่างทับทิม ประมาณ 2 วัน
3. กำจัดปรสิตภายนอกด้วย PRAZI ในวันที่ 3,4,10,11 และ 14 ของการกักโรค
4. กำจัดแบคทีเรียภายนอก และภายในบางส่วนด้วยการให้อาหาร พร้อมๆกับการแช่ KOI BACT ในวันที่ 5-9 ของการกักโรค
5. กำจัดเชื้อราด้วย Methylene blue ก่อนการส่งมอบปลา

ป.ล.วิธีการกักโรคที่กล่าวมา อาจจะไม่ถูกต้องตามตำราของทางวิชาการนัก แต่เป็นวิธีการที่ทางเราใช้ได้ผล และแทบจะไม่เกิดความเสียหายต่อทั้งปลาเก่าในบ่อและปลาใหม่ที่ปล่อยลงไปหลังการกักโรคเรียบร้อย มาเกือบจะตลอดชีวิตการเลี้ยงปลาของเราครับ
สมาชิกท่านใดจะปรับใช้ ลองศึกษาเพิ่มเติมถึงความจำเป็นในแต่ละขั้นตอนก่อนนะครับ เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพปลาของท่านครับ
เราจะใช้น้ำใหม่ในการกักโรคปลาทุกครั้ง ทุกขั้นตอน ไม่มีการปะปนกับปลาเก่าหรือน้ำเก่า ท่านสมาชิกสามารถรับปลาไป และนำไปกักเพื่อปรับแลกรับเชื้อกับปลาเก่าของท่านได้เลย ไม่ต้องใส่ยากักโรคอีก

การปรับแลกเชื้อเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดในการกักโรคปลา ก่อนปล่อยลงบ่อ ควรทำทุกครั้ง ใช้เวลาประมาณ 3 - 7 วัน โดยการกักด้วยน้ำในบ่อเลี้ยงของท่านและอาจจะใส่ปลาเก่าของท่านลงไปกักด้วยสักตัวหนึ่งจะดีมากครับ หากไม่มีอาการใดๆก็สามารถปล่อยทั้งปลาเก่าและใหม่ลงเลี้ยงได้ หากมีอาการของโรค ควรรักษาตามอาการก่อนจึงปล่อยลงบ่อเลี้ยง

หลังการกักโรคปลาทุกครั้ง เราจะทำการฆ่าเชื้ออ่างกักปลาและอุปกรณ์ รวมทั้งถุงใส่ปลาและยางรัด(ในกรณีนำกลับมาใช้ซ้ำ)ด้วยคลอรีน เพื่อความสะอาดและปลอดภัยต่อปลาล็อตใหม่ทุกล็อตครับ
รับรู้ข้อมูล ข่าวสาร โปรโมชั่นต่างๆ บทความใหม่ๆได้ก่อนใคร เพียงท่านกดไลค์แฟนเพจ koi108.com ที่
www.facebook.com/koi108
หรือ ทางไลน์กรุ๊ป ผ่านทาง QR code ในภาพนะครับ